การใช้งาน vSphere Client 4.1

การใช้งานโครงสร้าง VMware vSphere หรือ VMware ESX/ESXi เราต้องอาศัย VMware vSphere Client เป็นฝ่ายรีโมทเข้าไปจากเครื่องเรา ตอนนี้เรายังไม่ได้ขึ้นระบบ VMware vSphere ดังนั้นเราจะพาทุกท่านย่างกรายเข้าไปยังโฮสต์ที่เรามีอยู่
เมื่อเรียกโปรแกรม VMware vSphere Client จากเครื่องเราขึ้นมาก็จะได้หน้าต่าง VMware vSphere Client…. ไม่ต้องบอกก็น่าจะรู้เนอะ…. ใส่ข้อมูลสำหรับการเข้าโฮสต์ของเราลงไป ตอนนี้เราจะเข้าไปที่โฮสต์หมายเลขไอพี 192.168.7.201 ที่เราติดตั้งไว้แล้ว พร้อมทั้งใส่บัญชีผู้ใช้งานระดับสูงอย่าง root และรหัสผ่านลงไป
หน้าต่าง Security Warning ขึ้นมาเป็นประจำทุกวันเวลา ก็เลือก Install this certificate and do not display any security warnings for “192.168.7.201″ เพื่อไม่ให้มันขึ้นมากวนอีก เสร็จแล้วกดปุ่ม Ignore
ถ้าทุกอย่างถูกต้อง ระบบก็จะค่อยๆ พาท่านเข้าสู่โฮสต์อย่างง่ายดาย
หน้าต่าง VMware Evaluation Notice ออกมาต้อนรับเราอย่างเร่งร้อน…. ข้ามมันไปอย่าหวั่นไหว ไว้เราค่อยใส่รหัสสิทธิใช้งาน (License Key) ให้มันในภายภาคหน้า
แต๊น แต๊น แต๊น แตน…. ขอนำทุกท่านเข้าสู่ การจัดการโฮสต์ VMware ESXi 4.1 ด้วย VMware vSphere Client 4.1 เช่นเดียวกัน
ไปดูกันว่า มันเป็น 4.1 จริงๆ หรือไม่ ไปที่ Help -> About VMware vSphere
จะปรากฎหน้าต่าง About VMware vSphere ซึ่งบ่งบอกว่า vSphere Client เป็นเวอร์ชั่น 4.1.0 หมายเลข 258902 และเชื่อมต่อไปควบคุมโฮสต์ VMware ESXi 4.1.0 หมายเลข 206247…. กด OK เพื่อออกไปซะ
ลองคลิกที่แท็บ Summary ก็จะเห็นภาพกว้างๆ ของโฮสต์เรา
ลองคลิกไปที่แท็บ Configuration จะเข้าสู่รายการแรกในแท็บนี้คือ Health Status…. จะเห็นเกือบทุกรูขุมขนของโฮสต์ที่เราใช้อยู่
หากเลื่อนลงไปคลิกที่ Processors ก็จะได้รู้กันว่าพละกำลังในการขับเคลื่อนโฮสต์นี้อยู่ที่ 2.53 กิกกะเฮิร์ซ แม้จะมีแค่ 1 หน่วยประมวลผล แต่เป็นระดับ 4 คอร์ (Quad-Core) อีกทั้งยังเปิดความสามารถไฮเปอร์เธรดดิ้ง (Hyperthreading) ของอินเทลไว้ซะด้วย ซึ่งจะทำให้เราได้ลอจิคอลซีพียู (Logical Processors) เพิ่มอีกเท่าตัว จาก 4 เป็น 8 ตัว…. ความสามารถไฮเปอร์เธรดดิ้งบนเครื่องรุ่นใหม่ๆ จะถูกเปิดให้ทำงานเป็นค่าตั้งต้นในไบออส (BIOS) และเมื่อเราติดต้ัง VMware ESXi ลงไป เจ้า VMware ESXi ก็จะเปิดความสามารถนี้ขึ้นมาใช้งานทันที
จากภาพด้านบน เมื่อเราคลิกที่ Propertise… มุมขวาด้านบน เราก็จะได้หน้าต่าง Processors ออก มา ให้เราสามารถเปิดหรือปิดการใช้งานไฮเปอร์เธรดดิ้งได้ในระดับของ VMware ESXi แม้ว่าในไบออสจะเปิดอยู่ก็ตาม…. จะเปิดจะปิดก็ต้องรีสตาร์ตโฮสต์นะครับ…. กด Cancel เพื่อออกไป
ไปที่รายการ Memory กับบ้าง…. ดูเหมือนว่าตัว System หรือตัวโฮสต์นั่นเอง จะกินน้อยลงนะเนี่ย…. รึเปล่า?
ไปที่ Storage จะเห็นดาต้าสโตร์แรก ที่ชื่อ datastore1 ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนที่เหลือจากการติดตั้ง VMware ESXi ถูกโกยมาฟอร์แมต (Format) เป็น VMFS Datastore เมื่อลองคลิกไปบนตัวมัน ก็จะเห็นรายละเอียดภายใน ลองคลิกต่อไปที่ Properties…
จะได้หน้าต่าง datastore1 Properties เห็นสัดส่วนภายใน…. ลองเพ่งไปที่กรอบ Extent Device ก็จะเห็นมิติที่ลึกล้ำ
มิติที่ลึกล้ำบ่งบอกกับเราว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ datastore1 สิงสถิตอยู่ มีขนาด 136.70 กิกกะไบต์ ซึ่งไม่ได้เป็นของ datastore1 ไปทั้งหมด…. ฮาร์ดดิสก์ที่เห็นมี ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ Primary Partitions และ Logical Partitions และซอยออกเป็น 8 ส่วนย่อย ดังจะกล่าวต่อไป
จากรูปด้านบนเราจะเห็นมีตัวเลขกำกับไว้ในแต่ละส่วนย่อย เราจะอ้างอิงจากตรงนั้น
  • ส่วนแรก 1. DOS 16-bit <32m strong="strong"> ขนาดกระจึ๋งเดียว แค่ 4 เมกกะไบต์ เป็นพื้นที่สำหรับ Bootloader สำหรับชี้หา Boot Bank ที่ Active อยู่
  • ส่วนที่สอง 2. DOS 16-bit >=32M ขนาดพอตัว ถึง 4 กิกกะไบต์ทีเดียว เป็นส่วนพื้นที่ Swap
  • ส่วนที่สาม 3. VMFS ขนาดบิ๊กสุด 131.82 กิกกะไบต์ นี่คือส่วนของ datastore1 ที่เอามาจากพื้นที่เหลือทั้งหมดหลังการติดตั้ง VMware ESXi
  • ส่วนที่สี่ 4. Extended คือ Extended Partition ที่ถูกซอยออกไปเป็น 5. 6. 7. 8. ดังนั้น 4. = 5. + 6. + 7. + 8. เอย
  • ส่วนที่ห้า 5. DOS 16-bit >= 32M พื้นที่ประมาณ 250 เมกกะไบต์ ส่วนนี้มีชื่อเสียงเรียงนามอย่างเป็นทางการว่า Boot Bank
  • ส่วนที่หก 6. DOS 16-bit>=32M พื้นที่ประมาณ 250 เมกกไบต์ เช่นเดียวกับส่วนที่ห้า และมีชื่อเรียกล้อเลียนกัน คือ Alt Boot Bank
  • ส่วนที่เจ็ด VMware Diagnostic ขนาด 110 เมกกะไบต์ เป็นพื้นที่ที่รู้จักกันดีในนาม Core Dump สำหรับให้ VMware ESXi ขีดเขียนสาเหตุการตายก่อนที่มันจะสิ้นใจ
  • ส่วนที่แปด 8. DOS 16-bit >= 32MB ขนาดประมาณ 286 เมกกะไบต์ เป็นพื้นที่ใช้เก็บ VMware Tools เดิมเคยมี vSphere Client สิงสถิตอยู่ แต่บัดเดี๋ยวนี้ มันได้ถูกถอดออกไปเสียแล้ว

Boot Bank & Alt Boot Bank

พื้นที่สำหรับการบู๊ตเข้า VMware ESXi จริงๆ คือพื้นที่ส่วนที่เรียกว่า Boot Bank…. บน VMware ESXi จะมีพื้นที่นี้ 2 ส่วนด้วยกัน ทำงานเป็นลักษณะ Active และ Passive
เมื่อเราติดต้ัง VMware ESXi ลงไปเป็นครั้งแรกบนฮาร์ดดิสก์ เจ้าตัว VMkernel ที่ทำหน้าที่เป็นไฮเปอร์ไวเซอร์ จะสิงสถิตอยู่ใน Boot Bank แรก เมื่อเราบู๊ตเครื่องขึ้นมาใช้งาน VMkernel ตัวนี้จะเริ่มต้นทำงานไปตามปกติ
เมื่อใดก็ตามที่เราทำการอัพเดท หรืออัพเกรด VMware ESXi ระบบก็จะทำการเขียน VMkernel ตัวใหม่ไปไว้ใน Boot Bank ที่สอง แล้วทำให้ส่วนที่สองนี้ Active นั่นคือการบู๊ตครั้งต่อไปจะมาใช้ VMkernel ตัวใหม่ ถ้าบู๊ตแล้วใช้งานได้เรื่องก็จบ แต่ถ้าบู๊ตแล้วใช้งานไม่ได้ ระบบก็จะถอยกลับไปใช้ Boot Bank ตัวเก่าเป็นตัว Active และบู๊ตเข้าเวอร์ชั่นเก่าไป
นั่นคือเหตุผลที่ต้องมี Boot Bank สองตัว
แม้ว่าพื้นที่ Boot Bank จะมีขนาด 250 เมกกะไบต์ แต่ ณ ปัจจุบัน VMware ESXi 4.1 ใช้ VMkernel ขนาดเพียง 70 เมกกะไบต์เท่านั้น…. เจ๋งจริงๆ
กลับมาที่ vSphere Client ของเราต่อ…. ตานี้เราไปที่ Networking ก็จะมีสวิตช์เสมือน (Virtual Switch) ชื่อ vSwitch0 ถูกสร้างรอท่าไว้ ประกอบไปด้วยพอร์ตสำหรับวีเอ็มเคอร์เนล (VMkernel Port) ที่ชื่อ “Management Network” และกลุ่มพอร์ตสำหรับเวอร์ชวลแมชชีน (Virtual Machine Port Group) ที่ชื่อ “VM Network” อยู่ภายใน และสวิตช์เสมือนตัวนี้ใช้การ์ดเครือข่ายจริง vmnic0 ในการเข้าๆ ออกๆ…. ลองคลิกไปที่ Properties… อันบนสุดด้านขวา
ก็จะได้หน้าต่าง Networking Properties สำหรับการเปิดใช้งาน IPv6…. ปล่อยมันไปก่อนแล้วกัน กด Cancel เพื่ออกไปจากที่นี่เดี๋ยวนี้
ย้อนกลับไปสู่หน้าหลัก vSphere Client ให้กดที่ Properties… ของ vSwitch0 เพื่อเข้าไปดูคุณสมบัติข้างในตัวมัน…. เราก็จะได้หน้าต่าง vSwitch0 Properties… อันบนสุด (vSwitch) คือคุณสมบัติของสวิตช์เสมือนเอง ในเวอร์ชั่นนี้ค่าตั้งต้นของสวิตช์เสมือนที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เปลี่ยนจาก 64 พอร์ตมาเป็น 128 พอร์ตซะแล้ว แต่ที่แสดงอยู่ 120 พอร์ตเพราะโฮสต์กั๊กไว้ใช้เองอีก 8 พอร์ตนั่นเอง
เมื่อคลิกมาที่กลุ่มพอร์ต VM Network ก็จะมีคุณสมบัติตั้งต้นอย่างที่เห็น
และที่พอร์ตสำหรับวีเอ็มเคอร์เนล (VMkernel) Management Network ก็ประมาณนี้
อันนี้ภาพขยายคุณสมบัติของ ManagementNetwork
เมื่อเราคลิกไปที่แท็บ Network Adapter ก็จะเห็นว่าเราใช้การ์ด vmnic0 อยู่เพียงใบเดียว
ไปต่อที่ Storage Adapters…. อืม อันนี้น่าสนใจ…. ชะเง้อไปดูที่สองอันล่างก่อน อันนั้นปกติ คือมี Smart Array P410i เป็นการ์ดเรด (RAID Controller) ที่อยู่บนเครื่อง และ iSCSI Software Adapter ซึ่งเป็น iSCSI Software Initiator ทั้งสองตัวถือว่าธรรมด๊าธรรมดา…. ส่วนที่ไม่ธรรมดาก็ต้องเป็น Broadcom iSCSI Adapter จะเห็นมีอยู่สองใบคือ vmhba32 และ vmhba33…. เจ้า Broadcom iSCSI Adapter จริงๆ แล้วคือการ์ดเครือข่ายจริงที่ติดมากับเครื่อง 2 พอร์ตนั่นเอง แต่เนื่องด้วยที่การ์ดที่ติดมามีความสามารถที่มักเรียกกันว่า Multifuction ฝังอยู่ในตัว ความสามารถ Multifuction ที่ว่า นอกจากเราจะใช้เป็นการ์ดเครือข่ายธรรมดาๆ เชื่อมต่อผ่านโปรโตคอลอีเธอร์เน็ต (Ethernet) วิ่งรับส่ง TCP/IP มันยังช่วยทำให้การเชื่อมต่อแบบธรรมดานั่นไม่ไปกันหัวคิวของหน่วยประมวลผล และหน่วยความจำของเครื่องอีกด้วย ความสามารถย่อยลงมานี้มีชื่อเรียกว่า TCP/IP Offload Engine นอกเหนือไปจากนั้นภายใน Multifunction ยังมีความสามารถในการกระทำตัวเป็น iSCSI Hardware Initiator ที่เราเห็นอยู่ตรงหน้านี้แหละ เจ้าความสามารถนี้จะทำให้ iSCSI Software Adapter ที่ใช้วีเอ็มเคอร์เนลเป็นตัวจัดการ ยกพันธกิจทั้งปวงมาให้ฮาร์ดแวร์ดูแลไปทั้งหมด เจ๋งมากมาย…. สำหรับบนเครื่อง HP ProLiant Server ส่วนใหญ่การ์ดเครือข่ายที่ติดมากับเครื่อง (OEM มาจากชาวบ้าน) จะมีความสามารถ Multifunction มาให้ แต่จะยังไม่สามารถใช้ได้ต้องซื้อสิทธิใช้งาน (License) แยกต่างหากเพื่อมาเปิดมัน แต่ก่อนเมื่อติดตั้ง VMware ESXi 4.0 บนเครื่องเดียวกันนี้ เราจะไม่เห็นการ์ด Broadcom iSCSI Adapter ลอยเด้งออกมาแบบนี้…. เอาเป็นว่าเดี๋ยวไปศึกษารายละเอียดได้มาแล้วจะมาจาระไนให้ฟังกันคราวหน้านะ
ถ้าตอนนี้เราคลิกที่ Properties… ของ Broadcom iSCSI Adapter ใบใดใบหนึ่ง ก็จะเห็นคุณสมบัติภายในของมันที่เปิดไว้รอท่าแล้ว
พักไว้ก่อนสำหรับเรื่อง iSCSI Hardware Initiator เราไปต่อกันที่ Network Adapters ก็จะเห็นการ์ดบนเครื่องนี้ทั้งสองใบ เป็นการ์ดของเอชพี (HP) รุ่น NC382i ที่ OEM มากจากบอร์ดคอม (Broadcom) ซึ่งมีความสามารถแบบ Multifunction ตามที่ได้สาธยายไปแล้ว
ต่อไปเป็นรายการ Advanced Settings สำหรับกำหนดการใช้งานความสามารถที่เรียกว่า VMDirectPath ที่จะทำให้เวอร์ชวลแมชชีนเข้าถึงฮาร์ดแวร์ได้รุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งไว้ใช้สำหรับต่อไดร์ฟยูเอสบีให้แก่เวอร์ชวลแมชชีนก็ยังได้
ต่อมาที่ Power Management น่าจะเป็นส่วนของการกำหนดค่าเพื่อใช้ร่วมกับความสามารถ VMware Distributed Power Management (DPM) เอาไว้ค่อยมางัดแงะกัน
ต่อมาที่กรอบของ Software กันบ้าง ตัวแรกเป็น Licensed Features ซึ่งเปิดให้เราสามารถใช้งานได้ทุกๆ ความสามารถบน VMware vSphere 4.1 หลังการติดตั้ง 60 วัน ไว้เราค่อยมาใส่รหัสสิทธิใช้งานกันทีหลัง
Time Configuration เป็นส่วนของการตั้งเวลา จริงๆ หลังการติดตั้ง VMware ESXi เสร็จสิ้น เราควรมุ่งตรงมาที่นี่ก่อนเสมอ เพื่อจัดแจงให้มันเข้าที่เข้าทาง
DNS and Routing เป็นไปตามค่าที่เราตั้งในหน้าจอดีซุ้ย หากอยากดูรายละเอียดคลิก Properties…
ก็จะได้หน้าต่าง DNS and Routing Configuration ปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ตรงนี้
เมื่อคลิกที่แท็บ Routing ก็จะเห็นเส้นทางออกสู่โลกภายนอก
กลับมาที่ส่วนต่อไป Authentication Services อันนี้แหละน่าสน เห็นคุยว่าเข้ากันได้กับแอคทีฟไดเร็คทอรี่ (Active Directory) ขอไมโครซอฟต์ ของแวะเข้าไปดูหน่อยดิ กดที่ Properties…
ก็จะได้กรอบ Directory Services Configuration สามารถเลือกได้ระหว่าง Local Authentication หรือ Active Directory…. อืม เป็นจริงดังเค้าคุยไว้ เอาไว้เราค่อยมาลองกัน
ต่อกันที่ Virtual Machine Startup/Shutdown อันนี้ไม่ต่างจากของเดิม แสดงว่าดีอยู่แล้ว?
ต่อไป Virtual Machine Swapfile Location ก็เหมียนเดิม
Security Profile…. ชักเยอะนะเนี่ย
Simple Resource Allocation ลองกด Edit… ดูหน่อยดิ
หืม ทำได้แบบนี้เลยเหรอ
ลองกด Advanced… ดูหน่อยดิ…. ออกมาบานเลย
ถ้าลองเลือกไปในตัวย่อยๆ
ก็จะจัดการทรัพยากรได้ยิบย่อยเหมือนกัน…. มากไปไหมเนี่ย
ไปที่รายการท้ายสุด Advanced Setting
ก็จะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้เราปรับเปลี่ยนค่าตั้งต้นไปอย่างที่เราต้องการ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความแตกต่างระหว่าง ESX และ ESXi

ความสามารถครั้งใหญ่ของ Virtual Machine File System 5 (VMFS-5)

ติดตั้ง และใช้งาน VMware ESXi 4 (Free Version)